ชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม ตำบลวัดสามจีน
มีหินสามก้อนที่นอนสามอัน
มีต้นโศกเอน
ที่เจ้าเณรนั่งฉัน
นี่คือปริศนาขุมทรัพย์โบราณที่เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าชุมนเก่แก่นี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ก่อนจะค่อยๆเติบโตมาเป็นลำดับ จากหมู่บ้านชาวสวนกลายมาเป็นชุมชนคึกคัก
มีความโดดเด่นทางด้านคนตรีไทยและศิลปะการแสดง ชุมชนนี้เป็นแหล่งรวมมหรสพที่มีโรงภาพยนตร์ โรงละคร
โรงลิเก และบ้านดนตรีไทย
แม้ปัจจุบันจะเหลือเพียงบ้านดุริยประณีตที่ทำหน้าที่สืบสานศิลปะประจำชาติไว้ก็ตาม
และถึงจะเป็นเพียงชุมชนเล็กๆที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดแบบชุมชนเก่า แต่ถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆ
ชุมชนตรอกเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้
ชื่อตรอกนิวาสน์มาจากชื่อของโรงเรียนที่เคยตั้งอยู่บริเวณชุมชน ส่วนตรอกไก้แจ้นั้นสันนิษฐานว่าที่มามาจากบ้านของ พระวิสุนพิเศษ
อธิบดีผู้พิพากษาศาลฎีกา
เป็นบ้านสามชั้นและตั้งอยู่เหนือทิศทางลม
บนหลังคาติดกังหันลมรูปไก่แจ้
ผู้คนจึงพากันเรียกว่าตรอกไก่แจ้กันเรื่อยมา
บริเวณที่เป็นที่ตั้งของชุมชนคือพื้นที่วังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา
กรมหลวงจักเจษฎา
ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ใกล้ป้อมพระสุเมรุเพื่อระวังภัยข้าศึก
แต่ภายหลังที่ท่านสินพระชนม์
วังได้ถูกทำการรื้อถอนและมีคนเข้ามาถูกคนเข้ามาปลูกบ้านเรือนแทนที่
แม้ปัจจุบันจะเป็นชุมชนแต่ด้วยเพราะกำแพงและประตูวังเก่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่และได้มีการตั้งศาลสมเด็จปู่กรมหลวงจักรเจษฎา
ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะจึงทำให้ชาวบ้านมีความหวงแหนชุมชน
แม้จะเป็นเพียงขุมขนเล็กๆแต่ด้วยความรักและศรัทธาในประวัติศาสตร์ที่ล้ำค่าทำให้ทุกคนหวงแหนและรักษาประเพณีเดิมของชุมชน
และการบวงสรวงสักการะ
กรมหลวงจักเจษฎา ด้านการถวายละครรำ และดูและด้านความสะอาดของชุมชน
ชุมชนวัดสามพระยา ตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
การขยายตัวของชุมชนมักเริ่มต้นจากวัดหรือวังเช่นเดียวกับวัดบางขุนพรหมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
1 มีผู้คนเข้ามาอาศัย
เพราะนอกจากจะอยู่ใกล้วัดซึ่งเป็นศูนย์รวมชุมชนแล้ว ยังอยู่ห่างกำแพงเมืองเพียงคลองกั้น เมื่อวัดได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่
2 โดยสามขุนนางระดับเจ้าพระยา
และน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยโปรดเกล้าฯให้ขึ้นบัญชีเป็นพระอารามหลวงพร้อมพระราชทานนามวัดขึ้นใหม่ว่า
วัดสามพระยาวรวิหาร
ชาวชุมชนในย่านนี้จึงเป็นชาวบ้านวัดสามพระยาไปโดยปริยาย
และสร้างคุณค่าของชุมชนผ่านการงานและอาชีพที่โดดเด่น และกลายเป็นของดีของชุมชน ทั้งการประกอบอาชีพ การทำใบลาน
จนทำให้สามพระยากลายเป็นแหล่งขายใบลานที่มีชื่อเสียงของพระนคร ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยกระดาษ
ชุมชนวัดใหม่อมตรส
วัดใหม่อมตรสเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่กรุงธนบุรี
แต่ช่วงเวลาที่ผู้คนเข้ามาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหนาแน่นนั้นสันนิษฐานว่าเป็นช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการขยายเมืองทางฝั่งตะวันออก
แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าชุมชนก่อตั้งขึ้นมาเมื่อใด
แต่การสืบย้อนไปที่บรรพบุรุษก็พบว่ามีตระกูลเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ในย่านนี้มามากกว่าหนึ่งร้อยปี
วิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่ที่ก่อตัวและเติบโตโดยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลางจึงยังคงเกี่ยงโยงกับประเพณี ความเชื่อ
และความศรัทธาของผู้คนในชุมชนที่มีต่อวัด
ดังนั้นนอกจากการหันมาค้าขายหรือรับจ้าง
ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน
การทำบุญ ตักบาตร เข้าวัด
กิจกรรมจ่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นสิ่งที่คนในชุมชนยึดถือ
ชุมชนบ้านพานถม ในอดีตชุมชนบ้านพานถม
จากหลักฐานที่ย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มช่างฝีมือสองสาขาคือช่างทำเครื่องเงินและช่างทำเครื่องถมแดง
ได้รวมกลุ่มกันตั้งภูมิลำเนาอยู่บริเวณวัดปรินายกเกิดเป็นชุมชนที่ชื่อว่า บ้านพานถม
โดยมีเครื่องเงินและเครื่องถมฝีมือประณีตสลักเสลา และมีลวดลายวิจิตรบรรจง เป็นผลิตผลของชุมชนจนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะขันน้ำรองพานที่จัดเป็นของขวัญที่ดีที่สุด แต่เมื่อการผลิตด้านอุตสาหกรรมเริ่มเติบโต มีการใช้สแตนเลสมาใช้ในการทำขัน พาน ถาด
และทัพพีลายไทย
ขึ้นแบบด้วยแม่พิมพ์แทนการสลักเสลาด้วยมือทีละชั้น ทำให้ผลผลิตจำนวนมากมีราคาถูกกว่า จึงแพร่หลายใช้งานกันในครัวเรือนทั่วไป
งานเครื่องถมและเครื่องเงินจึงค่อยๆเลือนหายไปจากชุมชน เหลือเพียงร้านเครื่องถมไทยนคร ที่ยังสืบสานการทำเครื่องถมเงินแบบโบราณเอาไว้
ชุมชนบวรรังสี จากวัดรังสีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2
การก่อตั้งวัดบวรนิเวศวิหารในสมัยรัชกาลที่ 3
และการยุบรวมวัดรังษีเป็นคณะรังษีขึ้นตรงกับวัดบวรนิเวศในช่วงสมัยรัชกาลที่
6
คือหลักฐานที่ถูกบันทึกไว้ในงาของศาสนสถาน
ส่วนการก่อตั้งชุมชนหลังวัดมีที่มาไม่แน่ชัด
แต่คำบอกเล่าของคนเก่าแก่ในชุมชนชี้ให้เห็นว่า
ในอดีตคูคลองโยงใยทั่วเมืองและเป็นทางสัญจรหลัก เส้นทางเดินเท้าค่อนข้างเล็กพอเดินสวนกันได้
พื้นที่เป็นตรอกเล็กที่ประกอบไปด้วยบ้านช่องแขนงต่างๆ บ้านข้าราชการ และบ้านเหล่าพ่อค้า แม่ค้า แต่ทุกคนในชุมชนก็สนิทสนมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น